Hill Forts of Rajasthan

 Hill Forts of Rajasthan... 

ป้อมปราการราชาสถาน มรดกโลกแห่งอินเดีย

    สวัสดีเพื่อน ๆ ชาวบล็อคทุกคนค่ะ วันนี้เราจะมาพูดถึงแหล่งมรดกโลกที่สำคัญของประเทศอินเดียกัน เพื่อน ๆ ทราบกันใช่ไหมคะว่าประเทศอินเดียนั้นมีประชากรเยอะมาก ๆ ใช่ค่ะ มรดกโลกในประเทศเขาก็เช่นเดียวกัน มีสถานที่มากมายที่สำคัญและน่าค้นหา และ ป้อมปราการราชาสถาน เป็นสถานที่ที่เราเลือกค้นหา จะน่าสนใจขนาดไหน งั้นเราไปชมพร้อม ๆ กันเลยค่ะ 


ที่มา https://travel.thaiza.com/foreign/252886/


    ป้อมปราการราชาสถาน มีทั้งหมด 6 ป้อมที่ได้รับเลือกเป็นมรดกโลกของยูเนสโก ทั้งหมดตั้งอยู่ในรัฐราชาสถาน ทางตอนเหนือของอินเดีย และได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2556 เพราะ แสดงให้เห็นถึงอัจฉริยะในด้านสถาปัตยกรรมการทหารของเหล่า “ราชบุตร” (Rajput ชาวท้องถิ่นในแถบราชาสถาน) ที่สามารถสร้างป้อมปราการบนเทือกเขาหินแล้ว ยังสามารถสร้างรูปแบบกำแพงและประตูที่สลับซับซ้อนเพื่อป้องกันการโจมตีจากศัตรู อีกทั้งภายในป้อมปราการยังเป็นที่ตั้งของพระราชวัง วัด อาคารบ้านเรือน และเป็นแหล่งเก็บน้ำในยามขาดแคลน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และภูมิอันเก่าแก่ของชาวราชาสถานที่สืบกันมายาวนานกว่า 1,000 ปี

เรารู้ความเป็นมาคร่าว ๆ ของป้อมปราการราชาสถานกันไปแล้ว งั้นเราไปรู้จักป้อมเหล่านั้นกันเลยว่ามีรูปร่างหน้าตาอย่างไรกันบ้าง


1. Chittorgarh Fort (ชิตโตการ์ท)

    เป็นป้อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่เหนือเนินเขาสูงประมาณ 180 เมตร ถูกสร้างในช่วงศตวรรษที่ 7 โดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์โมริยะ โดยป้อมนี้เป็นเมืองหลวงของ Mewar ประมาณ 834 ปี ถูกทำลายในปี ค.ศ.1568  และปี ค.ศ.2013 ได้มีการปรับปรุงทาสีใหม่ ภายในมี 4 ปราสาทพระราชวัง, พิพิธภัณฑ์, 4 หอคอย, 19 วัดหลักๆ และ 20 แหล่งเก็บน้ำที่ยังใช้งานได้


  
ที่มา https://www.thepassport.travel/world/asia/unesco-fort-rajasthan-india


2. Kumbhalgarh Fort (คัมบาลการ์)

     เป็นป้อมที่มีความซับซ้อนมากที่สุด และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในราชสถาน สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 15 ป้อมปราการเป็นทรงโค้งมน มีประตูที่สง่างามเจ็ดประตูเรียกว่า Pols เพื่อป้องกันการเข้าป้อม และมีกำแพงยาวถึง 38 กม. ทำให้เป็นกำแพงที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากกำแพงเมืองจีน 


ที่มา https://www.thepassport.travel/world/asia/unesco-fort-rajasthan-india
 

3. Ranthambore Fort (รันธัมบอร์)

    ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติ Ranthambore ในรัฐราชสถาน ป้อมปรากาลแห่งนี้ได้รับการยอมรับเรื่องความรุ่งโรจน์และความงดงามที่เกี่ยวข้องกับ Hammir Dev แห่งราชวงศ์ชัวฮาน เชื่อว่าถูกสร้างขึ้นช่วงกลางศตวรรษที่ 10 ในช่วงยุคโมกุล และวัด Millinatha ถูกสร้างในป้อมแห่งนี้ ป้อมปราการถูกยึดครองในศตวรรษที่ 4 โดยราชอาณาจักรมาเวร์


ที่มา https://www.thepassport.travel/world/asia/unesco-fort-rajasthan-india

4. Gagron Fort

    ตั้งอยู่ในเขต Jhalawar เป็นเนินเขาและป้อมน้ำที่ล้อมรอบด้วยแม่น้ำ Kalisidh และ Ahu ป้อมนี้สร้างขึ้นโดย Doda Rajputs เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 8 และถูกสร้างขึ้นมาใหม่เรื่อย ๆ จนกระทั่งศตวรรษที่ 14 ถูกยึดครองโดย ชัวฮาน  ในศตวรรษที่ 12 ยังคงเปลี่ยนมือซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกระทั่ง ค.ศ. 1707 Aurangzeb มอบให้ Maharao Bhim Singh 


Gagron Fort (Jhalawar), UNESCO World Heritage Site Rajasthan
ที่มา https://www.rajasthantourplanner.com/unesco-world-heritage/gagron-fort.html
    

5. Amer Fort (เอเมร์ หรือ แอมเบอร์)

    ตั้งอยู่ที่เมืองอาเมร์ แคว้นชัยปุระ สร้างขึ้นโดยมหาราชา มาน สิงห์ที่ 1 ในปี ค.ศ 1592 นอกจากจะเป็นป้อมปราการแล้ว ยังมีบางส่วนที่มีลักษณะเป็นพระราชวัง และเป็นศูนย์รวมการบัญชาการการรบ อีกทั้ง ป้อมปราการนี้เป็นต้นแบบของสถาปัตยกรรมแบบราชปุต ( Rajput ) เนื่องจากรูปแบบการสร้างของป้อมนี้มีที่มาจากสถาปัตยกรรมแบบฮินดูที่ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมแบบราชปุต  ป้อมอาเมร์ ถูกล้อมรอบไว้ด้วยกำแพงเมืองทั้งหมด 4 ชั้นด้วยกัน ตั้งบนภูเขาหินเหนือทะเลสาบ สามารถมองเห็นได้จากระยะไกลเนื่องจากความสูงใหญ่ของป้อม


ที่มา https://www.thepassport.travel/world/asia/unesco-fort-rajasthan-india

6. Jaisalmer Fort (ไจซาลเมอร์)

    เป็นป้อมปราการขนาดใหญ่ ที่สร้างขึ้นจากหินทรายจากทะเลทรายธาร์ ในปี ค.ศ.1156 บนเขาทริตรีกูฎ โดย Bhatti Rajput rule Rawal Jaisal นับเป็นป้อมปราการที่เก่าแก่อันดับ 2 ของอินเดีย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2556 ลักษณะของกำแพงมีความคดเคี้ยวคล้ายงูกำลังเลื้อย สิ่งที่แตกต่างจากทั้ง 5 ป้อม คือภายใน Jaisalmer Fort ยังมีบ้านพักของชาวบ้านที่อาศัยอยู่กว่า 5000 ครัวเรือนมานานนับร้อยปี

    

ที่มา https://www.thepassport.travel/world/asia/unesco-fort-rajasthan-india  

    เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ป้อมปราการเหล่านี้ช่างใหญ่โตและโอ่อ่ามาก ๆ เลยใช่ไหมคะ มีทั้งเสน่ห์และเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป สำหรับใครที่หลงใหลในสถาปัตยกรรมโบราณแบบนี้ แนะนำให้ลองไปเที่ยวที่ป้อมปราการราชาสถานได้นะคะ ภายในป้อมต่าง ๆ ยังมีสิ่งที่น่าสนใจที่รอให้ทุกคนไปเจออยู่นะคะ สำหรับวันนี้ลาไปก่อน เจอกันบล็อคหน้านะค้า บ้ายบายยย


อ้างอิง

Amperjai (India) Travel. (ม.ป.ป.). (12) Jantra Mantra/ (13) Hill Forts of Rajasthan/ (14) Keoladeo 

        National Park. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2563. จาก https://www.amperjaitravel.com/15457525/12-

        jantra--mantra-13-hill-forts-of-rajasthan-14-keoladeo-national-park

Histoire UCAD. (2019). ป้อมปราการปห่งราชสถานอินเดียมรดกโลกของยูเนสโก

        ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2563. จาก https://th.histoire-ucad.org/hill-forts-rajasthan

Travelsafe notsorry. (2019). ป้อม Kumbhalgarh: ความรุ่งเรืองสูงสุดของราชาสำหรับการเดินทาง

        ที่สมบูรณ์ใน 2019. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2563. จาก https://th.travelsafenotsorry.com/4429-

        kumbhalgarh-fort-crowning-glory-of-rajasthan-for-perfect-trip-in-2019

World Tour Center. (2019). ป้อมอาเมร์ หรือป้อมแอมเบอร์ (Amer Fort). ค้นเมื่อ 2 กันยายน

        2563. จาก http://www.worldtourcenter.com

ลุงเสื้อเขียว. (2562). India in my memories. ราชาสถาน-อุตตรประเทศ 10 วัน 7 เมือง 4 มรดกโลก.

        ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2563. จาก http://www.painaidii.com/diary/diary-detail/004185/lang/th/


Comments

  1. อินเดียมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเยอะจริงๆค่ะ

    ReplyDelete
  2. ว้าววววว สถานที่แห่งนี้ช่างงดงามจริงๆเลยนะคะ ไม่คิดว่าจะมีป้อมปราการที่ใหญ่และสวยงามขนาดนี้ ส่วนตัวเราเคยเห็นแต่ในทีวี หรือแค่ในละครจักรๆวงศ์ๆ เท่านั้น ผู้เขียนนำเสนอเนื้อหาออกมาได้เข้าใจง่ายมากๆ เลยค่ะ ขอชื่นชม

    ReplyDelete
  3. อินเดียเที่ยวยังไงให้ไหวเนี่ย ที่เที่ยวเยอะมากจริงๆแต่ละที่แสนสวยงามสมกับที่เป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์จริงค่ะ เนื้อหาละเอียดมากอ่านไม่เบื่อเลย

    ReplyDelete
  4. ข้อมูลของแต่ละสถานที่น่าสนใจมากเลยค่ะ

    ReplyDelete
  5. สถาปัตยกรรมและป้อมปราการมีความสวยงามมากๆเลยค่ะ น่าสนใจไปเห็นด้วยตาตัวเองจริงๆเลย

    ReplyDelete
  6. อินเดียนอกจากจะเป็นประเทศที่กำเนิดศาสนาต่างๆแล้วแหล่งอารยะธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวก็เยอะอีกด้วย ต้องหาโอกาสไปเที่ยวสักคร้งแล้วล่ะ

    ReplyDelete

Post a Comment