The Fourth Industrial Revolution
ผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4
ที่มา : https://www.matichonweekly.com/column/article_160154 |
การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเราสามารถแบ่งออกได้ 4 ยุค ได้แก่
ยุุคอุตสาหกรรม 1.0 (ศตวรรษที่ 18) เริ่มมีการคิดค้นเครื่องจักไอพลังงานไอน้ำ เกิดการผลิตสินค้าอุสาหกรรม และสามารถผลิตได้ครั้งละมาก ๆ เป็นยุคที่เกิดโรงงานสมัยใหม่ อุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ สิ่งทอ
ยุคอุตสาหกรรม 2.0 (ศตวรรษที่ 19) ค้นพบพลังงานถ่านหิน เกิดเครื่องกำหนดพลังงานไฟฟ้า เกิดโรงงานขนาดใหญ่ที่วางระบบสายการผลิต มีการขนส่งสินค้าได้อย่างรวดเร็วและแน่นอนมากขึ้น มีสินค้าที่เหมือนกันในปริมาณมาก จึงเรียกยุคนี้ว่า ยุคการผลิตปริมาณมาก (Mass production) อตสาหกรรมที่สำคัญ คือ รถยนต์
ยุคอุตสหกรรม 3.0 (ทศวรรษที่ 1970s) มีการนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรม นำหุ่นยนต์มาใช้ในโรงงานแทนแรงงานคน ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตดีขึ้น เพราะ ผลิตได้เร็ว และถูกต้อง อุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ การสื่อสาร
อุตสาหกรรม 4.0 (ทศวรรษที่ 2010s ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน) การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้ขั้นตอนการผลิตมีความแม่นยำสูง ผลิตสินค้าได้หลากหลาย เกิดการเชื่อมโยงระหว่างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เกิดยุคอุตสาหกรรมใหม่ คือ ดิจิทัล เทตโนโลยี พลังงานทดแทน
จากคำกล่าวที่ว่า “One of the features of this Fourth Industrial Revolution is that it does not change what we are doing, but it changes us” ของ Klaus Schwab ผู้เขียนเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ เพราะ ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 นี้เปลี่ยนตัวเราให้เท่าทันต่อการพัฒนาต่าง ๆ รอบตัว ได้แก่
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยี ประกอบด้วย ยานยนต์ไร้คนขับที่ขับเคลื่อนโดยระบบอัตโนมัติ เช่น โดรน ทำให้เราสามารถถ่ายภาพจากมุมสูงได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องขึ้นไปถ่ายเอง แต่สามารถควบคุมได้จากบนพื้นดิน เครื่องพิมพ์สามมิติ ที่ถูกนำมาใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรมทั้งยานยนต์ การบินและอวกาศ การแพทย์ วิทยาการหุ่นยนต์ที่ความซับซ้อนสูง
การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล คืออินเทอร์เน็ต ที่เชื่อมโยงกับทุกสรรพสิ่ง การเปลี่ยนแปลงทางด้านนี้เด่นชัดที่สุด เพราะพฤติกรรมของเราเริ่มเปลี่ยนไป เช่น การซื้อสินค้าออนไลน์ จากเดิมที่เราต้องไปซื้อที่ร้านค้า แต่เปลี่ยนมาซื้อใน application ในโทรศัทพ์มือถือ การจ่ายเงินไม่จำเป็นต้องมีเงินสดก็จ่ายผ่าน Mobile banking ได้ การติดต่อสื่อสาร เราสามารถคุยกันผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แทนการไปคุยตัวต่อตัวได้ เป็นต้น เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตก็ทำให้เราใช้ชีวิตได้สะดวกมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ ความก้าวหน้าในการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ที่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการลดลง ในการค้นพบชีววิทยาสังเคราะห์ เอื้อต่อการสร้างสิ่งมีชีวิตด้วยการกำหนด DNA จะนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพในอนาคต มีการผลิตอาหารเสริม การพัฒนาอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยเฉพาะโรค และความก้าวหน้าทางการแพทย์นี้จะทำให้เราได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทำให้เรามีสุขภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น
ผละกระทบทางสังคม
1.จะเกิดการเลิกจ้างงานในกลุ่มงานบางอย่างที่สามารถใช้เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์ทำแทนได้ เช่น พนักงานโรงงาน นักบัญชี นายธนาคาร เป็นต้น และจพทำให้มีการโอนย้ายแรงงานไปสู่งานอื่นรวมถึงจะเกิดการจ้างงานใหม่ ๆ
2.การจ้างงานจะเกิดในงานสร้างสรรค์ที่รายให้รายได้สูง กับแรงงานที่ให้รายได้ต่ำ งานที่ทำซ้ำรายได้แบบปานกลางจะหายไป ทั้งหมดนี้จะทำให้ช่องว่างทางสังคมกว้างขึ้น
3.จะเริ่มคิดถึงความเป็นส่วนตัวมากขึ้น เพราะคนจะเป็นกังวลว่าตัวเองกำลังถูกจับตาดูโดยผู้มีอำนาจหรือไม่่ และการรู้สึกว่าถูกจับตามองมีแนวโน้มที่ทำให้คนยอมทำตามและเชื่อฟังมากขึ้น
4.มีการพัฒนากฎหมาย กฎระเบียบให้เอื้อต่อการเกิดนวัตกรรมเพื่อดึงดูุดนักลงทุนดี ๆ บริษัทเก่ง ๆ ให้เข้ามาลงทุน
5.เมื่อข้อมูลมากขึ้นความปลอดภัยของข้อมูลก็เป็นเรื่องใหญ่ ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องลงทุนในระบบความปลอดภัยของข้อมูลเพิ่มมากขึ้น เพื่อรักษาความไว้ใจลูกค้าของตนเองไว้
ผลกระทบต่อตัวผู้เขียน
การที่โลกเข้าสู่ยุค 4.0 นั้นทำให้ตัวผู้เขียนมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด และพฤติกรรมเป็นอย่างมาก เมื่อก่อนคิดว่างานบางงานนั้นมีแค่มนุษย์เท่านั้นที่สามารถทำได้ แต่ในตอนนี้กลับกลายเป็นว่าเครื่องจักร AI Robot สามารถทำแทนมนุษย์ได้แทบทุกอย่าง อย่างเช่น การที่นำหุ่นยนต์มาสอนหนังสือ เหตุนี้จึงทำให้ผู้เขียนได้ตระหนักถึงการทำงานในอนาคตว่าเราควรจะมีทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยี หรือคอมพิวเตอร์ไว้เพื่อนำไปปรับใช้ในการทำงาน
การเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรม การที่เรามีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการสื่อสารที่ดี มีอินเทอร์เน็ตที่สามารถพาไปได้ทุกแห่ง ทำให้ตัวผู้เขียนเข้าสังคมน้อยลง มีปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวน้อยลง มุ่งความสนใจไปที่สื่อโซเชียลมากกว่าจนทำให้ละเลยคนที่อยู่รอบตัว
อ้างอ้ง
Hostway Thailand. (2562). การเชื่อมโยงรtหว่าง INDUDTRY 4.0 ของเยอรมนี และ THAILAND
เคลาห์ ขวาบ. (2561). The Fourth Industrial Revolution. พิมพ์ครั้งที่ 41: ม.ป.ป. Amarin How-To.
ประกายดาว แบ่งสันเทียะ. (2560). ปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 พลิก "มนุษย์" เหนือหุ่นยนต์. ค้นเมื่อ 18
เนื้อหากระชับ น่าสนใจมากค่ะ เห็นด้วยกับผู้เขียนว่าเทคโนโลยีดิจิทัลและอินเตอร์เน็ตทำให้เราได้รับความสะดวกสบาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้ปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคมลดลงอย่างมาก
ReplyDeleteเห็นด้วยกับผู้เขียนในประเด็นที่ต้องตระหนักถึงการทำงานในอนาคต ที่ทุกคนต้องปรับตัวเข้ากับยุคสมัยนั้น ๆ
ReplyDeleteเนื้อหาเเน่นมากเลยค่ะ น่าสนใจมากๆ
ReplyDeleteน่าสนใจมากๆเลยค่ะ เราต้องปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงแล้วล่ะ
ReplyDeleteฉันเห็นด้วยกับคุณมากๆค่ะ เราต้องเปลี่ยนตัวเองจริงๆ ขอบคุณเนื้อหาแน่ๆที่ส่งมอบความรู้ดีๆที่มีให้กันนะค่ะ
ReplyDeleteใช่เลยค่ะ เราต้องปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ให้มีทักษะเท่าทันเทคโนโลยีจริงๆค่ะ
ReplyDeleteเห็นด้วยกับผู้เขียนมากๆ AI Robot สามารถทำแทนมนุษย์ได้แทบทุกอย่างเลย
ReplyDelete