Cyberbullying
Cyberbullying การระรานทางไซเบอร์
ที่มา https://thestandard.co/ais-dq-cyberbully-immunity/ Cyberbully คืออะไร ? ราชบัณฑิตสภา ให้คำนิยาม Cyber Bully ว่าคือ "การระรานทางไซเบอร์" หมายถึง การกลั่นแกล้ง การให้ร้าย การด่าว่า การข่มเหง หรือการรังแกผู้อื่นทางสื่อสังคมต่าง ๆ การกระทำนี้จะเกิดขึ้นได้บ่อยกว่าการแกล้งทั่วไป เพราะในโลกออนไลน์ ผู้รังแกไม่ได้เผชิญหน้ากับเป้าหมายจริง ๆ และสามารถเกิดขึ้นได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำแต่ไหนถึงเรียกว่า Bully ? จาก Podcast ของ The Standard บรรยายโดย คุณ ต้น นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น ได้ให้ลักษณะของผู้ Bully ไว้ 3 ลักษณะที่เกิดขึ้น ได้แก่ 1.ความรุนแรง ทั้งร่างกายและคำพูด ความรุนแรงทางร่างกายสามารถเห็นได้ชัดเจน ความรุนแรงทางคำพูด บางครั้งอาจจะมีคำที่ทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดได้ เช่น ทางกายภาพภายนอก สถานะ ข้อจำกัด ฐานะ สมรรถนะของคนอื่น อะไรที่พูดแล้วถิ่มแทงจิตใจ ได้รับผลกระทบทางจิตใจ นั้นคือการบูลลี่ด้วยความรุนแรง 2.มีความตั้งใจหรือเจตนา ทำสิ่งนั้นออกไปเพื่อให้อีกฝ่ายเจ็บปวด และรอดูปฎิกิริยาของคนที่ถูกพูดถึงว่าเป็นอย่างไร ถ้าเขาแสดงสีหน้าที่ไม่โอเค หรือพูดปฏิเสธออกมา เราก็ควรเข้าใจได้ว่าเขาไม่ชอบ นั่นเป็นการล้ำเส้นเขา ซึ่งถ้าเรายังทำแบบเดิมซ้ำๆ นั่นคือการบูลลี่ 3.การแสดงอำนาจที่เหนือกว่า มีการใช้น้ำเสียงที่ดังกว่าปกติ ใช้คำพูดที่รุนแรงกว่า ใช้คนที่มากกว่าเพื่อทำให้ตนมีอำนาจมากขึ้น พอเห็นอีกฝ่ายจนมุมยิ่งทำมากขึ้น ลักษณะนี้ก็คือการบูลลี่ Cyberbully สามารถแบ่งได้ 7 ประเภท 1.การส่งข้อความนินทาผู้อื่นให้เขาเสียหาย 2.การไล่บางคนออกจากกลุ่มออนไลน์ เช่น กลุ่ม Line หรือ Facebook 3.การแอบเข้าไปใช้ Facebook ของคนอื่นและโพสต์ข้อความให้เจ้าของบัญชีเสียหาย และทำให้คนรอบข้างเข้าใจผิด 4.การกล่าวหา ด่าทอ ด้วยถ้อยคำหยาบคาย ตอกย้ำปมทำให้เสียความมั่นใจ 5.การส่งข้อความ ด่าทอ วิด๊โอ หรืออะไรก็ตามที่ทำให้คนอื่นอับอายบนอินเทอร์เน็ต รวมถึงการขู่ 6.หยอกล้อ ยั่วโมโหจนอีกฝ่ายเผยความลับที่น่าอายของตัวเองบนโลกออนไลน์ 7.เห็นการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์แล้วเข้าไปร่วมด้วย ที่มา https://www.salika.co/2019/06/24/cyberbullying-research-by-dtac/ ประสบการณ์การถูก Cyberbully ของผู้เขียน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้หลาย ๆ คนอาจจะเคยเจอกับตัวเองทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว นั้นคือ การถูกนินทาในห้องแชต เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตอนที่ผู้เขียนอยู่มัธยม เรามีการตั้งกลุ่มในห้องแชตเพื่อพูดคุยกัน ต่อมาเราเริ่มรู้สึว่ามันไม่ปกติ ทำไมคนในกลุ่มถึงไม่ค่อยคุยกัน ไม่ตอบโต้กันเหมือนเดิม จนได้รู้ความจริงว่า พวกเขาได้ตั้งกลุ่มแชตใหม่โดยที่ไม่มีตัวเรากับเพื่อนอีกสองคน เขาคุยกันในกลุ่มนั้นโดยที่มีการนินทา อาจเป็นเพราะช่วงนั้นเราต้องไปช่วยงานคุณครูบ่อย ๆ และมีความเห็นไม่ตรงกันหลายเรื่อง เลยเป็นสาเหตุให้ถูกนินทา และที่เรารู้เพราะเพื่อนอีกคนของเราไปเห็นห้องแชตนั้น ตอนนั้นเรารู้สึกน้อยใจและเสียใจมาก ๆ แต่เราทำได้แค่ปล่อยไป เพราะไม่อยากทะเลาะหรือมีปัญหากัน วิธีการป้องกัน หรือ รับมือกับการถูก Cyberbully 1.อย่าเก็บไว้คนเดียว เล่าให้คนที่เราไว้ใจได้ หรือคนที่เราคิดว่าจะไม่ซ้ำเติมเราฟัง เพื่อระบายสิ่งที่อัดอั้นที่อยู่ในใจออกมา 2.ป้องกันตัวเองโดยที่ยืนหยัด ไม่ตอบกลับ อย่าเก็บมาคิดมาก เมื่อโดนกล่าวด่าแบบไม่มีเหตุผล ก็ไม่ควรไปสนใจ เพราะไม่มีเหตุผลที่เราจะต้องไปทะเลาะกับเขา ถึงคุยไปก็ไม่รู้เรื่องเพราะเขาไม่มีเหตุผล 3.หยุดระรานกลับด้วยวิธีการเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำซ้ำหรือเพิ่มความรุนแรงของเหตุการณ์มากยิ่งขึ้น 4.ปิดกั้นผู้ที่ระราน ไม่ให้เขาสามารถติดต่อ โพสต์ หรือระรานเราได้อีก 5.ถ้าโดนคุกคามถึงขั้นร้ายแรงก็อาจจะต้องเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ ที่อยู่ และแจ้งความดำเนินคดี ปัจจุบันโลกเรามาถึงยุค 4.0 แล้วทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการสื่อสารเราสามารถส่งข้อมูลผ่านสื่อโซเชียลมีเดียได้ทั่วโลกภายในไม่กี่นาที เมื่อมีข้อดีแล้วก็มีข้อเสียเช่นกัน การที่การสื่อสารเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็วทำให้เกิดการระรานทางไซเบอร์หรือ Cyberbully ได้ง่าย เป็นการด่าทอ กลั่นแกล้งผู้อื่นโดยที่ไม่ต้องเจอตัวจริงและสามารถทำได้ตลอดเวลา ทำให้ผู้ที่ถูกบูลลี่รู้สึกอับอาย เจ็บปวด ซึ่งตัวผู้เขียนเองก็เคยถูกบูลลี่ จึงเข้าใจความรู้สึกนั้นดี ดังนั้นเมื่อเราถูกกระทำเราควรเล่าให้คนที่ไว้ใจฟัง อย่าเก็บไว้คนเดียว และไม่ควรตอบกลับด้วยวิธีเดียวกัน เพราะมันอาจทำให้เรื่องใหญ่ขึ้น หากรุนแรงจนรับมือไม่ไหวควรไปแจ้งความ และเราควรจะคิดก่อนโพสต์ ตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อนที่จะแชร์ เพื่อป้องกันการบูลลี่คนอื่นโดยไม่รู้ตัว อ้างอิง Etda. (2020). Cyberbullying : ระรานออนไลน์ ร้ายล้านวิว. ค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563. จาก https://www.etda.or.th/content/stop-cyberbullying-2019.html Omega. (2017). คุณรู้จักความหมายของ Cyberbullying ดีพอแล้วหรือยัง ?. ค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563. จาก https://medium.com/@supanatwongchai/ The Standard. (2020). ตอบคำถามให้หายคาใจ ทำกันแค่ไหนถึงเรียก Cyberbullying. ค้นเมื่อ 26 สิงคาคม 2563. จาก https://thestandard.co/podcast/ruok187/ มูลนิธิยุวพัฒน์. (2019). การกลั่นแกล้ง (Bullying) ความรุนแรงในสังคม. ค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563 จาก https://www.yuvabadhanafoundation.org/th/ |
ภัยสังคมใกล้ตัวที่เรามักมองข้ามไปจริงๆ คำพูดร้ายๆ เพียงประโยคเดียวกับอารมณ์เพียงชั่ววูบ สามารถทำลายชีวิตคนคนนึงได้เลย เราคงต้องตระหนักแล้วว่าจะป้องกันและรับมือกับการกลั่นแกล้งกันทางโลกออนไลน์
ReplyDeleteแม้โลกได้พัฒนาก้าวหน้าไปมาก แต่หากยังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการทำให้บุคคลอื่นเดือดร้อน ก็เป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง เพราะผลลัพธ์ที่ตามมาอาจร้ายแรงได้
ReplyDeleteเป็นกำลังใจให้ผู้เขียนนะคะ หวังว่าซักวันคนเหล่านั้นจะตระหนักในสิ่งที่ตัวเองทำบ้าง
ReplyDeleteใช่เลยค่ะเราควรคิดก่อนโพสต์ เพราะไม่รู้ว่าที่เราโพสต์ไปนั้นจะส่งผลกระทบอะไรบ้าง
ReplyDeleteสำหรับฉันแต่ก่อนคืออินกับมันมากๆ เศร้าคนดียว ไปกินข้าวคนดียว ดูหนังคนเดียว นอนกอดตัวองจนชิน แต่ตอนนี้ก็อยาากมีคนมากอดอยู่นะ และปรับตัวได้ ไม่สนใจแต่สนใครที่เข้ามารักกัน
ReplyDeleteน่าเศร้านะคะ ปัจจุบันนี้หลาย ๆ คนยังคงคิดว่าแค่มีโซเชียลอยู่ในมือจะทำอะไรก็ได้ โดยไม่คิดถึงผลกระทบที่จะตามมาเลย
ReplyDeleteเห็นด้วยเลยค่ะ ก่อนจะโพสต์อะไรเราควรคำนึงถึงผลกระทบที่ตามมาให้มากๆ
ReplyDelete